เปรียบเทียบการทำเว็บไซต์ระหว่างเว็บสำเร็จรูปและ WordPress
การทำเว็บไซต์ในปัจจุบันมีวิธีการสร้างมากมายหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเองตั้งแต่ต้น การใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมในการพัฒนา การใช้บริการเว็บสำเร็จรูป หรือ การทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ในบทความนี้จะทำการเปรียบเทียบกันระหว่างการทำเว็บไซตด้วยเว็บสำเร็จรูปและ WordPress เพื่อให้ดูถึงข้อดีและข้อเสียของการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา
เว็บสำเร็จรูป
เว็บไซต์สำเร็จรูป คือ เว็บไซต์ที่ผู้สร้างหรือเจ้าของได้ใช้ทรัพยากรของตนเอง เช่น พนักงานบริษัท ฟรีแลนซ์ ทำการเขียนโค้ดหรือสคริปท์ (Script) ขึ้นมาใช้งาน โดยมีลักษณะเป็น Content Management System (CMS) ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะออกแบบให้ผู้ใช้บริการสามารถเพิ่มในส่วนโลโก้ เนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ ช่องทางการติดต่อ ได้เอง ในขณะที่การตั้งค่าขั้นสูงและการแก้ไขโค้ดทางผู้ให้บริการไม่ได้เปิดให้ผู้ใช้บริการทำการปรับแต่งได้
เว็บส่วนใหญ่ที่เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปจะมีรูปแบบหรือลักษณะแบบเดียวกัน คล้ายๆ กับการทำซ้ำจากเว็บต้นแบบแต่เปลี่ยนในส่วนของรูปและข้อความเท่านั้น ดังนั้นเว็บสำเร็จรูปประเภทนี้จึงสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าบริการที่ถูกกว่า(เฉพาะบางบริษัทเท่านั้น) แต่ก็ต้องแลกมากับความไม่สะดวกในการปรับเปลี่ยน ซึ่งอาจจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่ต้องการแก้ไข
สำหรับการสนับสนุนและการพัฒนาของเว็บไซต์สำเร็จรูปนั้น จากข้างต้นที่บอกไปแล้วว่าบริษัทหรือผู้พัฒนานั้นทำขึ้นมาเฉพาะเพื่อให้บริการกับลูกค้าของบริษัทของเขาเอง ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์จึงขึ้นกับจำนวนของโปรแกรมเมอร์ที่มีจำนวนจำกัดภายในบริษัทและโค้ดที่ทำการสร้างนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งของบริษัทนั้น ซึ่งจะไม่ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะ ซึ่งหมายถึงความปลอดภัยในการใช้งานระดับหนึ่ง
เว็บไซต์ WordPress
ในขณะที่การทำเว็บไซต์ด้วย WordPress นั้น จะเป็นระบบ Content Management System (CMS) เช่นเดียวกันกับในส่วนของเว็บสำเร็จรูป แต่เป็นโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาทั่วโลกมาช่วยในการสร้างขึ้นมา โค้ดที่ได้รับการพัฒนาสามารถเปิดเผยให้กับผู้ใช้งานทำการแก้ไขได้นอกจากในส่วนของรูป เนื้อหา วิดีโอ ที่ให้เป็นปรกติแล้ว WordPress นั้นจะมีช่องทางให้กับผู้ใช้งานทำการแจ้งถึงข้อผิดพลาด (Error) ของโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ตัวโปรแกรมนั้นถูกพัฒนาและอุดช่องโหว่ที่เป็นอันตรายจากบุคคลผู้ไม่หวังดี (Hacker) ในการเจาะเข้าสู่ระบบตลอดเวลา
ฟีเจอร์หรือฟังก์ชั่นพิเศษที่ผู้ใช้งานต้องการ สามารถทำการเพิ่มได้โดยง่ายด้วยการใช้ปลั๊กอินซึ่งเป็นส่วนเสริมของ WordPress มาประกอบกับเว็บไซต์ของเรา ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ต้องการให้เว็บของเราสามารถล็อกอินผ่านระบบเฟสบุ๊คได้ ก็เพียงทำการติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติมก็สามารถใช้งานได้แล้ว
ในกรณีที่ไม่มีปลั๊กอินเสริมในระบบ WordPress ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทำการแก้ไขโค้ดของโปรแกรมได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะมีนักพัฒนามากมายอยู่ทั่วโลกที่สามารถทำการแก้ไขปรับแต่งระบบให้ ซึ่งหมายความว่า ในกรณีที่เราจ้างผู้บริการรายหนึ่งพัฒนาเว็บไซต์ของเราแล้ว เมื่อเกิดข้อขัดแย้งกันระหว่างผู้บริการและผู้ให้บริการเราสามารถที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการไปเป็นรายใหม่ได้ ซึ่งจะไม่ติดขัดกับตัวโปรแกรมใช้งาน
สำหรับในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเว็บไซต์นั้น จะสนนราคาตั้งแต่ราคาถูกมากจนถึงระดับแพง ขึ้นกับว่า ความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์ต้องการฟังก์ชั่นหรือดีไซน์มากขนาดไหน ในขณะที่หน้าตาของเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับความชอบของเราเนื่องจากว่า WordPress ใช้ระบบธีม (Theme) เข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับหน้ากากมือถือ ที่มีในส่วนของระบบประมวลผลหลัก (Core Engine) และมีธีม (Theme) เข้ามาครอบอยู่ด้านบน เราสามารถทำการปรับเปลี่ยนธีมได้บ่อยตามที่ต้องการ
อ่านบทความ WordPress คืออะไร
ตารางเปรียบเทียบทำเว็บไซต์ระหว่างเว็บสำเร็จรูปและ WordPress
หากเราทำการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย เราจะสามารถระบุคร่าวๆ ได้ดังตารางด้านล่างนี้
การทำเว็บไซต์ด้วยเว็บสำเร็จรูป | การทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส | |
ข้อดี |
|
|
ข้อเสีย |
|
|
ดังนั้นจึงสรุปได้ดังนี้คือ ในกรณีที่เราต้องการเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลง่ายๆ มีจำนวนหน้าไม่มาก การเลือกเว็บแบบสำเร็จรูปที่มีราคาถูกจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ถ้าเราต้องการเว็บที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเรา สามารถทำการปรับแต่งได้ตรงตามความต้องการ และสามารถพัฒนาหรือขยายงานได้ในอนาคต การทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็เป็นทางเลือกที่ถูกต้องครับ