Google Anlaytics

6 ขั้นตอนการเชื่อมต่อข้อมูลเว็บไซต์กับ Google Analytics

บทความนี้เป็นบทความสั้นๆ แนะนำขั้นตอนการเชื่อมต่อข้อมูลเว็บของเรากับเว็บ Google Analytics เพื่อทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บจากผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราครับ ขั้นตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ ปรับปรุง จัดทำโปรโมชั่นของเว็บไซต์เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายครับ

ขั้นตอนแรกให้ทุกท่านสมัครบัญชี Google Analytics กันก่อนเลยครับ โดยเราจะใช้บัญชีอีเมล์ที่เป็น Gmail ในการสมัคร เพราะอีเมล์นี้ สมัครเพียงครั้งเดียวก็สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ของ Google ได้หลากหลาย ตั้งแต่ Google Analytics, Google AdSense, Google Ads, YouTube และอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง แต่หากไม่ต้องการใช้บัญชีของ Gmail ในการสมัครก็ให้เราใส่ข้อมูลชื่อสกุล (Name and Surname) รหัสผ่าน (Password) และอีเมล์ที่เราจะใช้ (Your Email) ลงไปครับ

สร้าง Google Analytics Account
สร้าง Google Analytics Account

เมื่อเราดำเนินการเสร็จแล้ว ขั้นตอนที่ 2 ให้เราไปที่เครื่องหมายรูปเกียร์และมีคำว่า Admin ทางด้านซ้ายมือล่างของเรา ให้ทำการกดเมนูนั้น ระบบจะเปลี่ยนไปยังหน้าการตั้งค่า (Setting) หลังจากนั้นให้เราดูช่องคอลัมน์ตรงกลางครับ จะมีคำว่า Create Property ปรากฏอยู่ ให้เราทำการกดปุ่มดังกล่าวตามรูป

Create Property
Create Property

ขั้นตอนที่ 3 ระบบจะถามเราว่า เราต้องการเก็บข้อมูลในส่วนใด ได้แก่ เฉพาะเว็บไซต์ (Web) หรือ แอพพลิเคชั่น (Apps) หรือทั้งเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น (Apps and Web) เนื่องจากเราต้องการเก็บข้อมูลเฉพาะเว็บไซต์เท่านั้น ดังนั้นจึงให้เราทำการเลือกเฉพาะเว็บไซต์ครับ แล้วทำการกดปุ่ม Continue เพื่อดำเนินการต่อ

เลือก Property ที่ต้องการ
เลือก Property ที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 4 ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่เราจะต้องกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่เราต้องการจะทำการเก็บข้อมูล ได้แก่ ชื่อของเว็บไซต์ (Website Name) ลิงก์ของเว็บไซต์ของเรา (Website URL) หมวดหมู่ของอุตสาหกรรม (Industry Category) เขตเวลารายงาน (Reporting Time Zone)

Property Setup
Property Setup

ข้อควรระวัง คือ การใส่ข้อมูลลิงก์เว็บไซต์ของเรา (Website URL) จะมีให้เลือกว่าเว็บไซต์ของเราเป็นแบบ http หรือ https เราจะต้องเลือกให้ตรงกับเว็บไซต์ของเรานะครับว่าเว็บของเรานั้นเป็นแบบใด หากเลือกผิดข้อมูลที่เราทำการเก็บจะไม่แสดงผล อีกส่วนก็คือเขตเวลารายงาน (Reporting Time Zone) เราจะต้องเลือกเป็นประเทศไทย (Thailand) และเขตเวลาเป็น GMT + 7:00 การตั้งข้อมูลเวลานี้จะทำให้เราได้ข้อมูลไม่สับสนในเรื่องเวลาการเข้าดูเว็บไซต์ของผู้เข้าชมครับ เมื่อทำการใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดปุ่ม Create

ขั้นตอนที่ 5 ระบบจะทำการแสดงหน้า Tracking ID หรือไอดีที่ให้เราเพื่อนำไปใส่ในเว็บไซต์เพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลเว็บไซต์ รหัสข้อมูล Tracking ID นี้จะขึ้นต้นด้วย UA และตามด้วยตัวเลข 6 หลักและ 2 หลักตามลำดับ ยกตัวอย่างจากในรุปก็คือ UA-XXXXXX-XX ด้านล่างจะมีกล่องใส่โค้ดที่ให้เรานำไปใส่ในเว็บไซต์ของเราตรงส่วนใต้แท็กเปิด <head> ครับ ในขั้นตอนนี้ให้เราเปิดหน้าเว็บไซต์หลังบ้านของเรา ในที่นี้ผมใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ ก็สามารถทำการติดตั้งในส่วนของปลั๊กอินที่ช่วยจัดการเรื่องของ Google Analytics ได้ (อ่านเพิ่มเติม WordPress คืออะไร)

Tracking ID
Tracking ID

ให้ไปที่หน้าหลังบ้านของหน้าเว็บไซต์เราแล้วทำการติดตั้งปลั๊กอินที่ชื่อ GA Google Analytics เมื่อทำการติดตั้งแล้ว ให้เรานำรหัส Tracking ID ไปใส่ไว้ที่ช่องกรอกข้อมูล และต้องเลือกแบบ Global Site Tag / gtag.js (new method) ตามรูป แล้วกดบันทึก

GA Google Analytics
GA Google Analytics

ขั้นตอนที่ 6 ให้เราทำการทดลองโดยทำการเปิดเว็บไซต์ของเรา แล้วดูในส่วนของ Real Time ใน Google Analytics ก็จะเห็นแท่งกราฟการเข้ามาของผู้ชมจำนวน 1 คน หากเราทำมาถึงตรงนี้ก็แสดงว่าเสร็จสมบูรณ์ เราก็สามารถเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์ของเรากับ Google Analytics ได้แล้วครับ

ทดสอบ Google Analytics
ทดสอบ Google Analytics

หวังว่าคงจะไม่ยากเกินไปกับคนที่เพิ่งเริ่มใช้งาน Google Analytics นะครับ หากใครมีข้อสงสัยก็สามารถที่จะสอบถามผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของผมได้ครับ ที่ รับออกแบบเว็บไซต์และสอน WordPress by Themevilles

สอน WordPress หรือ WooCommerce
สอน WordPress หรือ WooCommerce
avatar

นายปิ๊ก


ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Themevilles.com เป็นอาจารย์สอน WordPress และ WooCommerce ในเว็บคอร์สออนไลน์ Skilllane และรับทำเว็บไซต์ ทำการตลาดออนไลน์ เช่น SEO, Facebook และ LINE

สอบถามผ่านทาง Line QR Code qr-code.png