สร้างธีม WordPress ใช้เอง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ธีมจาก WordPress.org หรือ Themeforest.net อาจจะสงสัยกันว่าเขา สร้างธีม WordPress กันได้อย่างไร อยากจะสร้างบ้างทำได้ไหม มีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรบ้าง การเขียนธีม WordPress นั้นไม่ยากครับแต่จะทำอย่างไรให้เราเข้าใจในทุกกระบวนการการทำงานของ WordPress พูดง่ายๆ คือ ไปตรงไหนก็สามารถหยิบจับ แก้ไข เพิ่มเติม ส่วนที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักการ (Best Practices) เพื่อทำการส่งไปที่ WordPress.org หรือ Themeforest.net ได้ ในกรณีที่ต้องการทำธีมแจกหรือขายนะครับ ยกเว้นว่าเราจะทำธีมใช้เองก็ไม่ต้องทำถึงขั้นนี้ก็ได้

เมื่อเราทำการหัดสร้าง WordPress Theme นั้น จะมีความสนุกอย่างหนึ่ง คือ เหมือนกับการเล่นเกมส์แล้วเจอด่านต่างๆ ที้ต้องการผ่านด่านนั้นว่าจะทำอย่างไร บางคนอาจจะอยากได้ในส่วนของเทคนิคเพื่อผ่านด่าน จริงๆ แล้วผมใช้เวลาหัดเขียนธีมเกือบประมาณ 1 ปีเลยทีเดียว ธีมที่ส่งก็ส่งไปที่ WordPress.org ชื่อ ธีม Passport ซึ่งจะเป็นแนว Blog หากเข้าไปดูก็ยังมีแสดงอยู่นะครับ แต่ยังไม่ได้อัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ เพราะไม่ค่อยมีเวลาเท่าไรนัก เวลาพัฒนาแล้วเจอปัญหาแล้วแก้ ก็แก้กันไปแก้กันมา จนกระทั่งผ่าน เลยอยากมาอธิบายขันตอนการสร้างธีมคร่าวๆ ให้ฟังดังนี้

วิธีการสร้างธีม WordPress

มี 2 แบบหลักๆ คือ

  1. แปลง html เป็น WordPress ซึ่งวิธีการนี้เราจะเขียนสดตั้งแต่เริ่มต้นเป็นกระดาษเปล่าเลยครับ นำ HTML มาแยกเป็นส่วนๆ หรือบางคนอาจจะเขียนไปเลยก็ได้ โดยจะเขียนไล่ไปตั้งแต่ส่วนหัว (Header) ส่วนเนื้อหา (Body) และส่วนท้าย (Footer) ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เราได้ความรู้ค่อนข้างครบถึงการใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ความเป็นมาของหน้าแต่ละหน้า เช่น หน้า index.php, หน้า single.php หน้า page.php หรือ Page Template ต่างๆ อย่างละเอียด ถึงจะเสียเวลาแต่ก็คุ้มครับ เพราะความรู้จะอยู่กับเราตลอด เรียนรู้รอบเดียวจำไปได้อีกนานเลยทีเดียว
  2. การใช้ Framework หรือโครงร่างที่เสร็จแล้วมาสร้างธีมต่อ วิธีการนี้เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้พื้นฐานในการเขียนธีมแล้วระดับหนึ่งครับ หากไม่มีความรู้เลยจะทำให้เราไม่เข้าใจความหมายของโค๊ดในแต่ละบรรทัดได้ แต่ก็รวดเร็วในระดับหนึ่ง Framework ที่ดังๆ ก็เช่น underscore เป็นต้น หากเราทำการค้นหาถึงวิธีการสร้าง Theme WordPress นั้น เราจะพบประโยคหนึ่งเกี่ยวกับการสร้าง Theme WordPress ด้วย Bootstrap จริงๆ แล้ว Bootstrap เป็น Responsive Framework ตัวหนึ่งที่ช่วยให้เราจัดการเฉพาะในส่วนของรูปแบบ HTML และ CSS เท่านั้น เพื่อให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ส่วนประกอบที่สำคัญของธีมมีอะไรบ้าง

เริ่มแรกของการสร้างธีมนั้นจะต้องมีไฟล์เริ่มแรกจำนวน 2 ไฟล์ด้วยกัน ได้แก่ index.php และ style.css โดยไฟล์ style.css นั้นจะทำหน้าที่ในการระบุหรือประกาศชื่อธีมของเราว่าเป็นชื่อธีมอะไร เขียนโดยใคร เวอร์ชั่นเท่าไร หลังจากนั้น ก็จะทำกาสร้างในส่วนประกอบของหน้าและหน้าหลักต่างๆ ได้แก่ ไฟล์ header.php, footer.php, single.php, page.php และ sidebar.php

ถัดมาเราสามารถสร้างเทมเพลต (Template) เพื่อใช้เฉพาะกับหน้าที่เราต้องการ เช่น page-two-column.php ซึ่งจะเป็นการสร้างหน้าเทมเพลตแบบ 2 คอลัมน์ หรือ เรายังสามารถใช้รูปแบบของบทความ (Post Format) ซึ่งทาง WordPress ให้มานำมาใช้งานได้อีกด้วย

การสร้างธีมนั้นยังประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่เราจะต้องสร้างเพื่อใช้ในการปรับแต่งธีมของเรา ได้แก่ ในส่วนของเมนู (Menu) วิตเจ็ต (Widgets), ตัวปรับแต่งธีม (Theme Customizer), เมต้าบ็อกซ์ (Metabox), Theme Option

และสุดท้าย ส่วนที่สำคัญที่นักพัฒนาธีมเวิร์ดเพรสต้องทำความรู้จัก คือ ในเรื่องของความปลอดภัย (Security), การแปลภาษา (Translation) และการนำปลั๊กอิน (Plugin) มาใช้ประกอบเข้ารวมกับธีมของเรา

สร้างธีม WordPress

แก้ไข Theme WordPress

สำหรับการแก้ไข Theme WordPress ถ้าผู้พัฒนาธีมต้องการความรวดเร็วในการพัฒนาธีม วิธีการอีกวิธีหนึ่งคือ ให้เรานำธีมที่เราเลือกใช้งานนั้นมาทำการขยายขีดความสามารถของธีม ด้วยวิธีการโมดิฟาย WordPress Theme ซึ่งจะใช้ในส่วนของ Child Theme เข้ามาร่วมจัดการ ซึ่งบางธีมจะมีให้โฟลเดอร์ที่เป็น Child Theme มาให้เราอยู่แล้ว เพียงแค่เราเข้าไปแก้ไขในโฟลเดอร์นั้นแทนที่โฟลเดอร์หลัก

วิธีการใช้งานในส่วนของ Child Theme นั้น ในกรณีที่เราไม่มีโฟลเดอร์ Child Theme เราจำเป็นที่จะต้องสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นมาแล้วทำการตั้งชื่อด้วยการใช้ชื่อธีมของเราพร้อมกับคำว่า child ประกอบกัน เช่น passport-child เป็นต้น หลังจากนั้นให้เราทำการประกาศว่าโฟลเดอร์ที่เราจะทำการสร้างนี้เป็นการใช้ Child Theme ลงไปในไฟล์ style.css

พอถึงขั้นตอนตรงนี้แล้วก็ให้เราทำการก๊อบปี้ไฟล์ส่วนที่เราต้องการแก้ไขมาใส่ลงในโฟลเดอร์ที่เราพึ่งสร้างขึ้นมา ทำการแก้ตามวิธีการสร้าง Child Theme หากเราต้องการแก้ไขฟังก์ชั่น เช่น ไม่ต้องการใช้ฟังก์ชั่นนั้นๆ ก็ให้ใช้วิธีการนำออก (Remove) หรือหากต้องการเพิ่มเติมก็ให้ใช้การนำเข้า (Add) มาใช้งาน

โมดิฟาย WordPress Theme

ขาย Themes wordpress

สุดท้าย หากเราต้องการนำธีมของเราไปขายใน Themeforest.net เราจะต้องสร้างธีมของเราให้ตรงกับข้อกำหนดของเขา ทั้งนี้จะรวมถึง หน้าตา รูปแบบ โค๊ด ที่จะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ (Best Practices) และเรายังจะต้องทำการตรวจสอบผ่านเครื่องมือต่างๆ ของ WordPress.org อีกด้วยเช่นกัน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ วิธีการสร้างธีม WordPress อย่างคร่าวๆ ไม่ยากเกินไปใช่ไหม ปัจจุบันทางเรามีคอร์สออนไลน์ในการสอนคือ สร้างธีม WordPress และโมดิฟาย WordPress Theme จำนวน 2 คอร์สด้วยกัน ทั้ง 2 คอร์สนี้อยู่ที่ skilllane.com นะครับ ตามลิงก์ด้านล่าง

ผู้เรียนที่ทำการลงทะเบียนคอร์สทั้งสองคอร์สดังกล่าว หากสงสัยหรือติดขัดประการใด สามารถสอบถามผ่านมาทางเพจ WordPress by Themevilles นี้ได้นะครับ และหากยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะมีการ Remote Support ด้วย Team Viewer เข้าไปช่วยแก้ไขให้อีกเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจสูงสุดครับ

สดุท้ายนี้ หากคุณชอบบทความนี้ก็สามารถกดไลท์ที่เพจ WordPress by Themevilles และแชร์บทความของเราไปที่อื่นได้นะครับ