UberSuggest เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดสำหรับทำ SEO ฟรี
58 | | | SEO, ความรู้, ระดับพื้นฐาน SEO
UberSuggest คือ โปรแกรมทำ SEO ฟรีของคุณ Neil Patel ผู้เชี่ยวชาญการทำ SEO ระดับโลก ที่ได้นำประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ที่เขามีมาทำการพัฒนาโปรแกรมนี้ เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเราในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด (Keyword) เนื้อหา (Content) และเว็บไซต์เพื่อให้เราทำการพัฒนาเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับ Google ได้ดียิ่งขึ้น มีรายละเอียดอย่างไรไปดูกันครับ
บทความย้อนหลัง
UberSuggest
UberSuggest นี้จะประกอบไปด้วยหัวข้อ 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ ภาพรวม (Overview) แนวคิดคีย์เวิร์ด (Keyword Ideas) และแนวคิดเนื้อหา (Content Ideas) ครับ
วิธีการใช้งาน UberSuggest
วิธีการใช้งานของ UberSuggest นั้น ให้เราทำการเข้าใช้งานผ่าน Google Account ที่ด้านบนขวา (หากมี Gmail อยู่แล้วก็สามารถใช้งานได้เลยเพราะเป็นบัญชีเดียวกัน หากไม่มีให้ทำการลงทะเบียนใหม่) ในกรณีที่เราไม่ได้เข้าใช้งานผ่าน Google Account เรายังสามารถใช้งานได้ แต่ข้อมูลบางส่วนจะถูกปิดไม่ให้เห็นครับ หลังจากเข้าใช้งานแล้ว เราสามารถทำการดูจำนวนทราฟฟิคที่เข้ามา ค้นหาแนวคิดในส่วนของคีย์เวิร์ด (Keyword) และเนื้อหา (Content) ได้โดยการพิมพ์คีย์เวิร์ดหรือชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการลงไปในช่องที่เขาให้ พร้อมทั้งระบุประเทศที่เราต้องการค้นหาครับ
หากเราทำการค้นหาในส่วนของคีย์เวิร์ดก็จะแสดงคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจมาให้เราเลือกใช้งานสำหรับการเขียนบทความในเว็บไซต์ของเรา จากตัวอย่างด้านล่าง เราจะเห็นคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจแต่ละคีย์เวิร์ดแสดงจำนวนการค้นหา (Volume) ต้นทุนการโฆษณาผ่าน Google ต่อ 1 คลิ๊ก ที่เรียกว่า CPC (Cost per click) ความยากในการทำโฆษณา (PD: Paid Difficulty) และ ความยากในการทำ SEO (SD: SEO Difficulty) ใน 2 รายการหลังนี้ถ้าตัวเลขยิ่งมากจะยิ่งมีการแข่งขันกันสูงครับ
ด้านขวาของหน้านี้จะบอกถึงลำดับของเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกว่าเป็นเว็บอะไร มีจำนวนคนเข้าเท่าไร (Est. Visits) จำนวนการลิงก์มาหน้าดังกล่าว (Links) คะแนนโดเมนเนม (Domain Score) และการแชร์ผ่านทางโซเชียล (Social Shares)
จากข้อมูลของตาราง เราสามารถที่จะนำไปวิเคราะห์ได้ว่า คีย์เวิร์ดตัวใดที่เราควรให้ความสนใจและทำการเขียนบทความขึ้นมา โดยดูจากจำนวนการค้นหา (Volume) หากมีจำนวนเยอะก็น่าสนใจมาก ถัดมาก็ไปดูการแข่งขันว่ามีการแข่งขันมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้การเลือกคีย์เวิร์ดเราควรให้ความสำคัญกับประเภทของคีย์เวิร์ดด้วยนะครับ ว่าเป็นคีย์เวิร์ดประเภทใด
หากเราทำการค้นหาในส่วนของเนื้อหาก็จะแสดงเนื้อหาหรือหัวข้อที่มีคนเขียนแล้วในคีย์เวิร์ดที่เราระบุไว้ ซึ่งจะช่วยให้เราได้ไอเดียว่าเราควรที่จะเขียนบทความเกี่ยวกับอะไรดีเพื่อให้มีจำนวนคนเข้ามาอ่านในระดับสูง โดยจะมีรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีการเข้าถึงบทความนี้จำนวนเท่าไรเป็นประมาณการ (Est. Visits) จำนวนแบ็คลิงก์ (Backlinks) จำนวนการแชร์ผ่านเฟสบุ๊ค (Facebook shares) จากรูปจะเห็นว่า หัวข้อ Black Pink เดบิวท์ ปล่อย 2 MV-Lisa สาวไทย เปิดตัวอย่างปัง ใน musicstaion ของ Kapook มียอดการแชร์สูงถึง 56,965 แชร์ เป็นต้น
นอกจากในส่วนของ UberSuggest แล้ว Neil Patel ยังทำการพัฒนาเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์จำนวนคนเข้าดูหรือทราฟฟิค และวิเคราะห์ SEO อีก 2 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
Traffic Analyzer
Traffic Analyzer นี้ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ วิธีการก็คือ ให้เรานำโดเมนเนมที่เราต้องการตรวจสอบมาทำการใส่ในช่องที่ให้ไว้แล้วทำการกดวิเคราะห์ ระบบจะบอกถึงจำนวนคนที่เข้าดูเว็บไซต์รายเดือน (Traffic) จำนวนคีย์เวิร์ดที่ได้ในแต่ละตำแหน่งมีจำนวนเท่าไร (SEO Keyword Ranking)
หากเราเข้าไปดูในเมนูรายละเอียดด้านล่างจะแสดงถึง หน้าที่มีคนเข้าจำนวนมากของเว็บไซต์ที่เราระบุไว้ (Top Pages) และคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่มีคนเข้ามายังเว็บนี้ได้อีกด้วยครับ
SEO Analyzer
เมนูหลักล่างสุดที่ชื่อว่า SEO Analyzer ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทาง Neil Patel ได้ทำไว้ เพื่อทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบเว็บที่ระบุว่ามีคะแนน SEO ที่เท่าไร มี 2 เมนูหลักได้แก่
Site Audit
การตรวจสอบไซต์ (Site Audit) ประกอบไปด้วยการตรวจสอบ SEO แบบ On Page, ทราฟฟิค และรายละเอียดอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- On-Page SEO Score เป็นคะแนน SEO แบบ On Page
- Organic Monthly Traffic คือจำนวนทราฟฟิคที่มาจากการค้นหาผ่าน Search Engine ต่างๆ เช่น Google
- Organic Keywords คือ จำนวนคีย์เวิร์ดที่มีการค้นหาผ่าน Search Engine
- Backlinks คือ จำนวนลิงก์ที่ถูกยิงมาจากเว็บไซต์อื่น
- Health Check คือ การตรวจสุขภาพของเว็บไซต์จากการสแกนหน้าเว็บจำนวน 100 หน้า ว่าหน้าเว็บแต่ละหน้ามีปัญหาใดหรือไม่ เช่น หน้าเว็บมีสุขภาพดี (Healthy) หน้าเว็บเสีย (Broken) หน้าเว็บมีปัญหา (Have Issues) หน้าเว็บถูกรีไดเร็ก (Redirects) และหน้าเว็บถูกบล็อค (Blocked)
- Critical Error คือ การแจ้งเตือนจุดบกพร่องที่สำคัญที่มีผลกระทบมากต่อตำแหน่งหรือการทำ SEO
- Warnings คือ การแจ้งเตือนจุดบกพร่องที่มีความสำคัญน้อย แต่ก็ยังมีผลกระทบต่อการทำ SEO อยู่บ้าง
- Recommendations คือ ข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ
- Site Speed คือ การตรวจสอบความเร็วหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า โดยแบ่งเป็น หน้าจอคอมพิวเตอร์ (Desktop) และหน้าจอมือถือ (Mobile) หากเข้าหน้าเว็บไซต์ได้เร็วก็จะมีตำแหน่งที่ดี
Backlinks
เป็นการวิเคราะห์ในส่วนของคะแนนโดนเมน (Domain Score) จำนวนแบ็คลิงก์ (Backlinks) จำนวนโดเมนที่อ้างอิงได้และลิงก์มายังเว็บไซต์นี้ (Referring Domains) และยังสามารถบอกรายละเอียดได้ว่าแต่ละเดือนมีจำนวนแบ็คลิงก์เท่าไร มีการเข้าออกแบ็คลิงก์อย่างไรบ้าง เห็นครั้งแรก (First Seen) และครั้งสุดท้าย (Last Seen) เมื่อไรครับ