6 ขั้นตอนการทำ Xampp ให้เป็น Web Server ที่ใช้งานจริง
8 | | . | ความรู้, โดเมนและโฮสติ้ง
บทความที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับโปรแกรม Xampp ไปแล้วว่าคืออะไร และการติดตั้งใช้งานทำอย่างไร ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงการทำ Xampp ในกรณีที่เราต้องการให้ Xampp ของเราเป็น Web server ที่สามารถใช้งานจริงและสามารถเข้าดูเว็บไซต์แบบออนไลน์ได้จริงๆ ว่ามีวิธีและขั้นตอนการทำอย่างไร
Table of Contents
เตรียมความพร้อม
- ติดตั้ง Windows Server และโปรแกรม Xampp ให้เรียบร้อย
- มีเว็บไซต์ที่ทำเสร็จแล้วและได้ย้ายไฟล์ไปใส่ไว้ในโปรแกรม Xampp ในเครื่อง Windows Server ที่เราเตรียมไว้
- ทำการชี้โดเมนเนมของเรามายังไอพีของเครื่อง Windows Server ให้เรียบร้อย
เริ่มทำ Xampp ให้เป็น Web Server gn
1. ตรวจสอบ port 80
เราจะต้องทำการตรวจสอบพอร์ทที่เปิดใช้งานในโปรแกรม Xampp ว่าเราได้ทำการเปิดพอร์ทไหน โดยทั่วไปแล้วพอร์ทที่เปิด คือ port 80 ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จากไฟล์ httpd.conf ในโฟลเดอร์ C:\xampp\apache\conf ในส่วนของบรรทัด Listen 80 ซึ่งในที่นี้ก็คือพอร์ท 80 ครับ
2. แก้ไขไฟล์ httpd-vhosts.conf
ให้แก้ไฟล์ httpd-vhosts.conf โดยไปที่โฟลเดอร์ C:\xampp\apache\conf\extra\httpd-vhosts.conf โดยแก้และเพิ่มรายละเอียดดังต่อไปนี้ในบรรทัดล่างสุด
<VirtualHost *:80>
DocumentRoot "C:/xampp/htdocs/dummy-host2.example.com"
ServerName dummy-host2.example.com
</VirtualHost>
ให้เราทำการแก้ไขส่วน C:/xampp/htdocs/dummy-host2.example.com
ให้เป็นชื่อไฟล์ที่เป็นชื่อโปรเจคของตัวเอง เช่น ถ้าเรามีโปรเจคชื่อ project1 ก็ให้แก้เป็น C:/xampp/htdocs/charlies-project
เป็นต้น
ให้เราทำการแก้ไข dummy-host2.example.com
เป็นชื่อเว็บไซต์ของเรา เช่น เปลี่ยนเป็น charlies-project.com
เป็นต้น จะได้โค้ดตามด้านล่าง
<VirtualHost *:80>
DocumentRoot "C:/xampp/htdocs/charlies-project"
ServerName charlies-project.com
</VirtualHost>
3. แก้ไขไฟล์ hosts
ขั้นตอนถัดไปให้ทำการแก้ไฟล์ hosts ที่อยู่ในโฟลเดอร์ C:\Windows\System32\drivers\etc โดยให้ทำการเพิ่มบรรทัดใหม่ ได้แก่ 127.0.0.1 localhost charlies-project.com
4. แก้ไขชื่อโดเมนเนมในฐานข้อมูล
สำหรับคนที่ใช้ WordPress ให้เข้าไปในโปรแกรม phpMyAdmin หา table ที่ชื่อว่า wp_options ให้ทำการเปลี่ยนชื่อข้อความใน option_value ในส่วนของ option_name ที่ชื่อ siteurl และ home ให้เปลี่ยนเป็นชื่อโดเมนของเราในที่นี้ คือ http://charlies-project.com
5. ทำการ Restart Xampp ใหม่
เมื่อดำเนินการครบแล้ว ให้เราทำการ Stop และ Start โมดูล Apache และ MySQL ของโปรแกรม Xampp ใหม่อีกครั้ง
6. ทำการทดสอบการเข้าหน้าเว็บไซต์
ทำการทดสอบการเข้าหน้าเว็บไซต์ของเราผ่านเบราเซอร์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรครับ
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ เราจะสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้แล้วนะครับ แต่หากยังไม่สามารถใช้งานได้ต้องตรวจสอบ Log ดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร ในบางครั้งอาจเกิดจาก Firewall ที่มีการปิดกั้นพอร์ท 80 ไม่ให้เราสามารถออกอินเตอร์เนทได้ก็ให้เราไปเปิดพอร์ทนั้นๆ นะครับ ทั้งในระบบเครือข่าย เช่น Fortinet และระบบเซิฟเวอร์ เช่น โปรแกรม Windows Defender Firewall ครับ
สรุปส่งท้าย
หวังว่าเพื่อนๆ คงทำกันได้นะครับ สำหรับบทความถัดไปจะเป็นเรื่องอะไรก็คอยติดตามกันนะครับ สวัสดีครับ..