LiteSpeed Web Server คืออะไร ช่วยเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ได้อย่างไร
5 | | | ความรู้, โดเมนและโฮสติ้ง
LiteSpeed Web Server คือ เว็บเซิฟเวอร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า LiteSpeed ที่ถูกคิดค้นและออกแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวจากบริษัท LiteSpeed Technologies ในการทำให้เว็บโฮสติ้งในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถปรับขยายได้ง่าย ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องความเร็วของเว็บไซต์ที่มีปัญหาให้มีความเร็วสูงขึ้นและสามารถตอบโจทย์เรื่องความเร็วที่เราทดสอบจาก Google Page Speed ได้ดี โดยท้ายของบทความจะแสดงผลการใช้งานก่อนและหลังจากการใช้เทคโนโลยี LiteSpeed นี้
Table of Contents
LiteSpeed Web Server ทำอะไรได้บ้าง
- สามารถใช้งานร่วมกันกับ Apache ได้
LiteSpeed Web Server มีคุณสมบัติที่สามารถทำงานร่วมกันกับ Apache Web Server เนื่องจากมีฟีเจอร์ เช่น mod_rewrite, .htaccess และ mod_security และยังสามารถโหลดค่าต่างของ Apache ได้ ทำให้มันสามารถทำงานทดแทน Apache ได้ในทันที และสามารถใช้งานได้กับ Control Panel อื่นๆ เช่น cPanel, Plesk และ DirectAdmin
- เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการขยายขนาด
LiteSpeed Web Server มีการออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้การทำงานของ Memory และ CPU ต่ำกว่าปกติเมื่อมีการเรียกใช้งานที่เท่าเทียมกันกับเซิฟเวอร์ทั่วไป และยังเพิ่มประสิทธิภาพของไฟล์ PHP ทำให้เว็บไซต์ของเรามีความเร็วเมื่อเทียบกับการใช้งานผ่าน Apache Web Server (อ่านเพิ่มเติม วิธีทำให้เว็บไซต์ของเราเร็วขึ้น)
- เพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์
LiteSpeed Web Server สามารถใช้งานร่วมกันกับฟีเจอร์ Apache’s mod_security และมีความสามารถในการป้องกัน DDOS ทำให้ป้องกันการโจมตีของผู้ไม่หวังดีและทำให้ลดปัญหาคอขวดของ Bandwidth
- ช่วยในการลดต้นทุนการใช้งานโฮสติ้งให้มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนมาใช้งาน LiteSpeed จะทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยลงเมื่อเทียบกับการอัพเกรดเครื่องเซิฟเวอร์ที่ใช้ Apache และค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งค่าต่างๆ ใน Apache
LiteSpeed Web Server มีกี่ประเภท
เทคโนโลยี LiteSpeed นี้ มี 2 แบบ ได้แก่
- OpenLiteSpeed เป็นการใช้งาน LiteSpeed Web Server แบบ Open Source ซึ่งให้เราสามารถใช้งานได้ฟรีทั้งในรูปแบบการใช้งานส่วนตัวหรือใช้งานเชิงพาณิชย์ มีข้อจำกัดคือ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้กับโฮสติ้งบางประเภท เช่น WHM/cPanel และ DirectAdmin
- LiteSpeed Enterprise เป็นการใช้งาน LiteSpeed แบบมีค่าใช้จ่ายผ่านเว็บไซต์ LiteSpeed Technologiies มีทั้งแบบฟรีสำหรับไซต์งานขนาดเล็กและแบบเสียเงินสำหรับเซิฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถที่มากกว่าแบบ OpenLiteSpeed
ความแตกต่างหลักระหว่าง OpenLiteSpeed และ LiteSpeed Enterprise
- .htaccess
LiteSpeed Web Server ที่เป็นแบบ Enterprise จะรองรับการใช้ rewrite rules ของ Apache
OpenLiteSpeed สนับสนุนการทำงานของ rewrite rules เช่นกัน แต่ไม่สนับสนุนคำสั่งของ Apache และจำเป็นที่จะต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่ทุกครั้งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าใน .htaccess
- ModeSecurity Engine
LiteSpeed Web Server สนันบสนุนข้อบังคับของ Apache ModSecurity ด้วย ModSecurity ที่สร้างขึ้นมาเองของบริษัท LiteSpeed Technologies
OpenLiteSpeed สนับสนุนข้อบังคับของ Apache ModSecurity แต่เป็น ModSecurity เวอร์ชั่น 3 ซึ่งเป็นตัวพื้นฐานของ Open Source ที่ให้ใช้งาน
- ESI
ESI หรือ Edge Slide เป็นเทคนิคการแบ่งส่วนหน้าของเว็บไซต์ให้เป็นส่วนๆ เพื่อประมวลผล และจะทำการรวมกันอีกครั้งเพื่อแสดงผลในหน้าจอเบราเซอร์
LiteSpeed Web Server สนับสนุน ESI
OpenLiteSpeed ไม่สนับสนุน ESI
- Asynchronous SSL Handshake
Asynchronous SSL Handshake เป็นกระบวนการปรับปรุงความสามารถของ SSL โดยลดความหนาแน่นหรือแออัดจากการใช้งานที่ I/O event handling โดยแบ่งกระบวนการทำงานแบบแยกส่วนของ worker
LiteSpeed Web Server สนับสนุน Asynchronous SSL
OpenLiteSpeed ไม่สนับสนุน Asynchronous SSL
- WordPress Brute Force Protection
การโจมตีแบบ Brute Force ของ WordPress จะถูกการโจมตีผ่านหน้าเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมากผ่านการเดาชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านทำให้ทรัพยากรของเครื่องเซิฟเวอร์ชองเราสูงขึ้น เช่น CPU สูงถึง 100%
LiteSpeed Web Server มาพร้อมกับการป้องกันการโจมตีแบบ Brute Force สำหรับแอพพลิเคชั่น WordPress
OpenLiteSpeed ไม่มีการป้องกันการโจมตีแบบ Brute Force สำหรับ WordPress
- Control Panel Support
LiteSpeed Web Server เป็น Apache replacement แบบ drop-in ซึ่งหมายความว่า สามารถทดแทนการใช้งาน Apache เดิมได้ในทันที ดังนั้น Control Panel ที่ใช้ Apache อยู่แล้วจึงสามารถใช้งานได้
OpenLiteSpeed ไม่สามารถทดแทนการใช้งาน Apache ได้โดยตรง แต่ในปัจจุบันเริ่มมี Control Panel หลายตัวเริ่มนำ OpenLiteSpeed ไปใส่ในระบบบแล้ว เช่น CyberPanel, DirectAdmin, CloudPages, RunCloud และ GridPane เป็นต้น
- Licensing
LiteSpeed Enterprise ต้องใช้ LiteSpeed license ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตามแพ็คเกจ โดยมีทั้งแบบฟรีสำหรับโดเมนเดียวจนถึงไลเซนส์แบบไม่จำกัดสำหรับเว็บขนาดใหญ่
OpenLiteSpeed จะเป็นแบบฟรี 100% และเป็น Open source สามารถใช้งานได้ทุกโดเมนและทุกขนาดเซิฟเวอร์ภายใต้ข้อกำหนด GPLv3 License
การติดตั้ง LiteSpeed Web Server
เราสามารถทำการติดตั้ง LiteSpeed ได้ 2 วิธี ดังนี้
- ทำการติดตั้งโดยการใช้ Source Code ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้ LiteSpeed Repo, Binary Install, Souce Code, 1-Click Install และ Docker Install โดยวิธีการติดตั้งสามารถดูได้จากวิดีโอ การติดตั้งและตั้งค่า OpenLiteSpeed
- ทำการติดตั้งโดยการใช้ Cloud Image ที่มีผ่านโฮสติ้งดัง เช่น DigitalOcean, AWS Partner Network, Google Cloud, Azure, Linode, Alibaba Cloud และ Vultr โดยวิธีการนี้ให้เราจะต้องทำการเช่าโฮสติ้งข้างต้นและทำการเลือกใช้งานในส่วนของ LiteSpeed Server ที่ทางโฮสติ้งให้มา
หลังจากทำการติดตั้งในส่วนของ LiteSpeed Web Server แล้ว ในกรณีที่เป็นเว็บไซต์ที่สร้างด้วยแอพพลิเคชั่น WordPress เราสามารถทำการติดตั้งในส่วนของปลั๊กอิน LiteSpeed Cache (LSCache) ได้ ซึ่งปลั๊กอินนี้จะทำงานสอดคล้องกับเว็บเซิฟเวอร์ของเราทำให้ความเร็วของเว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Control Panels ที่รองรับการใช้งาน LiteSpeed
Control Panels ที่รองรับการใช้งานของ LiteSpeed Web Server ได้แก่ cPanel, Plesk, DirectAdmin, CyberPanel, RunCloud และ Spanel
เปรียบเทียบ Performance ระหว่าง LiteSpeed, NginX และ Apache
- เปรียบเทียบการใช้งานโดยการวัดประสิทธิภาพของ HTTP/2 ในแต่ละเซิฟเวอร์ทั้งในส่วนของ Open LiteSpeed, Nginx และ Apache โดยจะพบว่ามีการเรียกใช้ Requests per Second ในส่วนของ OpenLiteSpeed สูงกว่าอีกสองเซิฟเวอร์ถึง 5 เท่า
- เปรียบเทียบ Server Load ระหว่าง Apache และ LiteSpeed ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังจากเปลี่ยนมาใช้งาน LiteSpeed แล้วจะลดลงได้มาก
- เปรียบเทียบความเร็วเว็บไซต์จาก Google Page Speed ระหว่าง Apache และ LiteSpeed Web Serverพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และเป็นผลบวกกับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานของผู้ใช้งานที่ทำให้สามารถเข้าหน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น เกิดขึ้นความพึงพอใจในการใช้งานและทำให้ตำแหน่งหรือลำดับในหน้า Google ดีขึ้นด้วย โดยมีรายละเอียดตามภาพ
ก่อนการเปลี่ยนมาใช้ LiteSpeed Web Server
หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Litespeed Web Server + LiteSpeed Cache
สรุปส่งท้าย
เราจะเห็นว่าการเปลี่ยนโฮสติ้งโดยมาใช้เทคโนโลยีของ LiteSpeed Web Server นั้นทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในส่วนของ Performance, Server Load และ Speed ดังนั้นหากเว็บของใครที่มีปัญหาเรื่องความเร็ว และอ่านบทความนี้แล้วเกิดความสนใจก็ให้ทำการติดตั้งแล้วทดสอบด้วยตัวเองได้เลยจะได้เห็นผลลัพธ์ด้วยตัวเองครับ หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่กับบทความหน้าครับผม
อ้างอิงจาก
- OpenLiteSpeed เว็บเกี่ยวกับเทคโนโลยี LiteSpeed ที่เป็น Open Source สามารถใช้งานได้ฟรี
- LiteSpeed Technologies เว็บเกี่ยวกับเทคโนโลยี LiteSpeed สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถของ LiteSpeed มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน