7 เทคนิคหลักในการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ WordPress

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้ความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ WordPress ที่เราวัดด้วย Google Page Speed หรือ GTMetrix เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาลำดับของ Search Engine อย่างเช่น Google ว่าจะอยู่ในอันดับหนึ่งหรือไม่ วันนี้เราจึงจะมาแนะนำ 7 เทคนิคหลักในการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ WordPress เช่น เลือกโฮสติ้งความเร็วสูง เลือก Theme และปลั๊กอินที่ทำงานเร็ว ปรับปรุงรูปภาพให้แสดงผลเร็ว เอาปลั๊กอินที่ช้าออก และทำ Minify และ Concatenate การใช้ page cache และ CDN

1. เลือกโฮสติ้งที่มีการปรับแต่งความเร็วและมีศักยภาพสูง

ข้อแรกนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่มีโฮสติ้งที่มีความเร็ว แรง และศักยภาพสูงนั้นจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเรามีความเร็วและแรงไปด้วย เพราะความแรงของระบบการประมวลผลของเครื่องเซิฟเวอร์นั้นจะทำให้ไม่มีการติดขัดในระหว่างการเปิดหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นหากเราต้องการจะทำให้เว็บไซต์ของเรามีความเร็วเพิ่มขึ้น สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก็คือ โฮสติ้งนั่นเอง

สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาโฮสติ้งก็คือ พื้นที่การให้บริการของโฮสติ้ง เช่น ถ้าเว็บไซต์ของเราอยู่ในไทย เราก็ควรใช้โฮสติ้งที่อยู่ในไทยหรือในสิงค์โปร์ เพื่อให้สามารถตอบรับกับผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะดีกว่าโฮสติ้งที่อยู่ในฝั่งยุโรปหรืออเมริกา ส่วนที่สองก็คือเวอร์ชั่นของ PHP ของโฮสติ้งนั้น ซึ่งควรที่จะเป็น PHP 7+ หรือเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป เพราะเวอร์ชั่นนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถขึ้นมากกว่า PHP เวอร์ชั่น 5 ที่หลายๆโฮสติ้งยังใช้งานอยู่ ดังนั้นเราจึงควรสอบถามโฮสติ้งนั้นๆ ว่าเว็บของเราใช้งาน PHP เวอร์ชั่นอะไร

Hostatom hosting
Hostatom Hosting

สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาโฮสติ้งก็คือ พื้นที่การให้บริการของโฮสติ้ง เช่น ถ้าเว็บไซต์ของเราอยู่ในไทย เราก็ควรใช้โฮสติ้งที่อยู่ในไทยหรือในสิงค์โปร์ เพื่อให้สามารถตอบรับกับผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะดีกว่าโฮสติ้งที่อยู่ในฝั่งยุโรปหรืออเมริกา ส่วนที่สองก็คือเวอร์ชั่นของ PHP ของโฮสติ้งนั้น ซึ่งควรที่จะเป็น PHP 7+ หรือเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป เพราะเวอร์ชั่นนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถขึ้นมากกว่า PHP เวอร์ชั่น 5 ที่หลายๆโฮสติ้งยังใช้งานอยู่ ดังนั้นเราจึงควรสอบถามโฮสติ้งนั้นๆ ว่าเว็บของเราใช้งาน PHP เวอร์ชั่นอะไร

สเปคโฮสติ้งที่แนะนำคือ

  • PHP 8+
  • MySQL 5.6+
  • หน่วยความจำต่ำสุดที่ 64MB หรือถ้าได้ที่ 128MB+ จะดีมาก

ปัจจุบันมีเทคโนโลยี LiteSpeed ของโฮสติ้งเข้ามาช่วยทำให้เว็บไซต์เร็วขึ้น (อ่านรายละเอียดได้ที่ LiteSpeed Web Server คืออะไร ช่วยเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ได้อย่างไร)

2. เลือก WordPress Theme ที่เบาและเร็ว

สิ่งสำคัญอันดับที่สองที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญก็คือ ธีม (Theme) ของเราครับ การเลือกธีมที่ผิดก็จะทำให้เว็บของเรานั้นมีความอืด ไม่สามารถทำความเร็วได้ง่าย เพราะโครงสร้างการเขียนโค้ดที่ไม่ถูกลักษณะและไม่เป็น Best Practices ที่ดี

ธีมบางธีมที่ช้า สาเหตุเกิดจากการเลือกใช้ Page Builder หรือตัวที่ช่วยปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามที่เราต้องการ Page Builder บางตัวเมื่อเรานำเอามาประกอบด้วยวิธีการเพิ่มปลั๊กอินแล้วจะมีผลทำให้หน้าเว็บไซต์ของเราอืดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Page Builder บางตัวเมื่อนำมาใช้งานกับไม่เป็น ยกตัวอย่างกันงายๆ หากเราใช้ Page Builder ที่ชื่อ Elementor ก็จะมีความเร็วมากกว่า Page Builder ของอีกค่ายหนึ่งเป็นต้น

7 เทคนิคหลักในการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ WordPress 1

นอกจาก 2 ส่วนข้างต้นแล้ว ความสามารถในการเปิดปิดฟีเจอร์ใช้งานของธีมก็เป็นอีกส่วนที่จะต้องทำการปรับแต่ง เพราะเวลาหน้าเว็บไซต์ทำการรันข้อมูล ไฟล์บางไฟล์ที่ไม่จำเป็นอาจจะถูกดึงนำไปเข้าสู่กระบวนการรันหน้าเว็บไซต์ด้วยและนั่นก็คืออีกปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ของเราช้าได้

3. ปรับปรุงรูปภาพของเราให้เร็วขึ้น (Image Optimization)

การปรับปรุงรูปภาพมี 2 ส่วนหลักๆ ในการปรับปรุง สิ่งแรกคือขนาดของรูปที่ใช้ตามจุดต่างๆ ของเว็บไซต์ซึ่งจะมีการระบุขนาดพื้นที่ของรูปไว้ เช่น กำหนดพื้นที่ในส่วนของรูปอยู่ที่ 800px แต่เราเอารูปขนาด 3000px ไปใส่ในพื้นที่ที่ขนาดเล็กกว่า ทำให้ขนาดของรูปไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่งเวลาทำการโหลดภาพในหน้านั้นก็จะทำให้โหลดช้าได้ ดังนั้นเราควรที่จะทำการปรับเปลี่ยนขนาดให้เล็กลงตรงกับพื้นที่ที่กำหนดไว้

ส่วนที่สองก็คือการบีบอัดรูป ซึ่งจะทำให้รูปของเรามีขนาดเล็กลง ซึ่งจะมีการบีบอัดอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • Lossy – การบีบอัดลักษณะนี้จะเป็นการบีบอัดขนาดรูปที่มีขนาดใหญ่ และจะเสียคุณภาพของรูป
  • Lossless – การบีบอัดลักษณะนี้จะป็นการบีบอัดรูปที่ขนาดเล็กลงมา แต่คุณภาพของรูปจะไม่เสีย

ปลั๊กอินที่สามารถใช้งานทั้งลดขนาดและบีบอัดก็คือ ShortPixel, Imagify, และ Smush Image เป็นต้น

4. ปิดและเอาปลั๊กอินที่ทำให้ช้าออก

เมื่อเราทำการทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ บางครั้งจะพบว่าปลั๊กอินบางตัวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้า สาเหตุเพราะมีไฟล์บางไฟล์ที่ไปขัดขวางกระบวนการแสดงผลของหน้าเว็บไซต์ทำให้เว็บไซต์รอกระบวนการนั้นก่อน ดังนั้นการปลดปลั๊กอินเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องทำการปลดออก และหาปลั๊กอินที่สามารถทดแทนกันได้มาแทน

วิธีการตรวจสอบว่า ปลั๊กอินไหนเป็นตัวปัญหาทำได้โดยการติดตั้งปลั๊กอินฟรีที่ชื่อ P3 (Plugin Performance Profiler) สำหรับคนที่ใช้ PHP 5 แต่ในกรณีที่ใข้ PHP 7 ให้เราใช้ปลั๊กอิน GTmetrix หรือเครื่องมือ Pingdom ในการทดสอบครับ

5. การ Minify Code และ Concatenate Files

สำหรับการทำ Minify Code และ Concatenation นั้นเป็นอีก 2 เทคนิคที่จะทำให้ขนาดและจำนวนของโค้ดของเว็บไซต์มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะไม่ทำให้ฟังก์ชั่นการทำงานของเว็บไซต์เปลี่ยนแปลงไป โดยการทำ Minification นั้นจะเป็นเทคนิคของการนำส่วนของโค้ดหรือคาแร็คเตอร์ที่ไม่จำเป็นออก ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่เว้นวรรคในโค้ด พื้นที่ว่างในการขึ้นบรรทัดใหม่ เป็นต้น ขณะที่การทำงานของ Concatenation นั้นจะเป็นการรวมไฟล์หลายไฟล์เข้ามาเป็นไฟล์เดียว ปลั๊กอินที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่ Autoptimize ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง 2 อย่างในปลั๊กอินตัวเดียว

6. การใช้ Cache สำหรับส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

เทคนิคนี้จะเป็นเทคนิคที่ใช้การเก็บข้อมูลหน้าเว็บเอาไว้ในส่วนของ Browser มากกว่าที่จะไปดึงข้อมูลจากส่วนของ Server เพื่อลดเวลาในการดึงข้อมูลและแสดงผลให้แก่ผู้อ่านครับ โดยเราสามารถที่จะใช้ปลั๊กอิน ได้แก่ Cache Enable, WP Super Cache, Switch Performance Lite หรือ WP Rocket ในการเร่งความเร็วของเว็บไซต์

7 เทคนิคหลักในการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ WordPress 3
WP Rocket

อย่างไรก็ตามการใช้ปลั๊กอินในการจัดการ Cahce นั้น อาจจะต้องระวังปัญหาที่เกิดตามมานั่นก็คือ เวลาเราทำการแก้ไขโค้ดบางครั้ง หน้าเว็บของเรายังจำค่า Cache เก่าอยู่ ทำให้เราต้องงมหาปัญหาว่ามันเกิดจากอะไร จงอย่าลืมว่า ให้เราทดสอบด้วยการปิด Cache ด้วย ลองอ่านบทความชื่อ เรื่องวุ่นๆ เกี่ยวกับ Cache นี้นะครับ

7. ใช้ Content Delivery Network (เช่น Cloudflare)

สำหรับการใช้ Content Delivery Network (CDN) นี้จะใข้วิธีการเก็บสำเนาของเว็บไซต์ไว้ในแต่ละที่ทั่วโลกเพื่อให้ผู้อ่านจากทั่วโลกสามารถดึงข้อมูลเว็บไซต์ของเราจากจุดที่เก็บข้อมูลที่ใกล้ที่สุดครับ ปัจจุบันเรามี CDN หลายเจ้าที่ช่วยในการดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่น Cloudflare เป็นต้น

สำหรับวิธีการนั้น ให้เราไปทำการลงทะเบียนกับเว็บ Cloudflare เป็นลำดับแรกครับ แล้วให้ทำการปรับเปลี่ยนในส่วนของ Name Server ให้ถูกต้องตามวิธีการที่เว็บ Cloudflare ได้ระบุไว้ หากใครทำไม่เป็นก็แจ้งให้โฮสติ้งของเรานั้นช่วยปรับเปลียนแก้ไขได้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วก็รอเป็นระยะเวลา 24 ชม. แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้ พอเห็นช่องทางในการปรับแต่งเว็บของเราให้เร็วและแรงกันบ้างหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยกันเลยครับ แต่ถ้าใครยังสงสัยก็สามารถปรึกษาผ่า่นทางเฟสบุ๊คได้ครับผม