backup website

2 ขั้นตอนวิธีการแบ็คอัพเว็บไซต์ WordPress โดยไม่ใช้ปลั๊กอิน

สวัสดีครับ พบกันอีกแล้วสำหรับบทความใหม่ใน Themevilles วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการแบ็คอัพเว็บไซต์ WordPress โดยไม่ได้ใช้ปลั๊กอินครับ ถึงแม้ว่าการใช้ปลั๊กอิน Duplicator หรือ All in One Migration จะสะดวกสบายกว่าก็ตามแต่บางครั้งอาจจะมีข้อผิดพลาดทางเทคนิคที่ไม่สามารถใช้ปลั๊กอินได้ เช่น ขนาดไฟล์ใหญ่เกินไปหรือโฮสติ้งไม่รองรับ เป็นต้น ดังนั้นเรามาดูขั้นตอนการทำกันเลยครับ

ขั้นตอนการแบ็คอัพนั้นแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ เราจะต้องทำการแบ็คอัพในส่วนของไฟล์ 1 ชุด และฐานข้อมูลอีก 1 ชุดครับ โดยวิธีการแบ็คอัพไฟล์นั้นเราจะใช้โปรแกรม FTP ในที่นี้จะใช้โปรแกรมที่ชื่อ FileZilla ในการแบ็คอัพ และในส่วนของฐานข้อมูลนั้นเราจะเข้าไปนำไฟล์ฐานข้อมูลออกมา (Export) จาก phpMyAdmin โดยเก็บมาในรูปแบบไฟล์ Zip

1. แบ็คอัพไฟล์ (File Backup)

ขั้นตอนแรกที่เราจะทำก็คือ การนำไฟล์จากเว็บไซต์ที่ใช้งานอยู่จริงมาลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ก่อนที่จะทำการนำไฟล์ลงบนเครื่องของเรานั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมและข้อมูลได้แก่ โปรแกรม FileZilla (ให้ดาวน์โหลดจากเว็บ FileZilla) และข้อมูลที่เราได้จากโฮสติ้งผ่านทางอีเมล์ หากยังไม่มีให้ทำการติดตั้งและหาข้อมูลให้พร้อมก่อนนะครับ

เมื่อเราได้ข้อมูลพร้อมแล้วให้ดูที่ส่วนที่เขียนว่า FTP ให้เราทำการนำชื่อเว็บของเราหรือชื่อโฮส (Host) ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) พอร์ต (Port) ที่เราได้จากโฮสติ้งทำการใส่เข้าไปเพื่อเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์ของเรากับโฮสติ้งด้วยการกดปุ่ม Quickconnect

แบ็คอัพไฟล์โดย FileZilla
แบ็คอัพไฟล์โดย FileZilla

หลังจากนั้นให้เราทำการนำไฟล์ที่อยู่ภายในโฟลเดอร์ public_html ทั้งหมดที่อยู่ที่ช่องทางขวามือโดยใช้เมาส์ทำการครอบไฟล์ที่ต้องการและทำการโยนไฟล์ไปทางซ้ายมือ ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ต้องการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราครับ เพียงเท่านี้เราก็สามารถแบ็คอัพในส่วนของไฟล์ได้แล้ว

2. แบ็คอัพฐานข้อมูล (Database Backup)

ในขั้นตอนของการแบ็คอัพส่วนที่สองคือ การนำฐานข้อมูลออกจากเซิฟเวอร์จริงโดยให้เข้าไปยังโปรแกรม phpMyAdmin ซึ่งเราสามารถเข้าได้ผ่านทางการล็อกอินเข้า Control Panel โดยใช้ข้อมูลที่เราได้จากโฮสติ้งเช่นเดียวกันครับ

เมื่อเข้าไปใน phpMyAdmin แล้ว ให้เราไปที่ฐานข้อมูลที่เราต้องการจะส่งออก หลังจากนั้นให้ไปที่เมนูส่งออก (export) เพื่อทำการนำข้อมูลออกโดยให้เลือกแบบกำหนดเอง เราสามารถกำหนดได้ว่าข้อมูลที่เราต้องการนำออกนั้นต้องการเพียงบางส่วนหรือว่าทั้งหมด ในกรณีนี้เราจะนำออกทั้งหมดเพราะต้องการแบ็คอัพเว็บไซต์ทั้งหมดครับ ถัดมาให้เลื่อนลงมาด้านล่างในส่วนของ Compression ให้เราเลือกส่งออกไฟล์แบบ zip และไปด้านล่างสุดให้กดปุ่มคำว่าไป ฐานข้อมูลที่เราต้องการก็จะถูกส่งออกมายังเครื่องของเรา เมื่อเรานำออกมาแล้วก็นำไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกันในคอมพิวเตอร์ของเราก็เป็นอันเสร็จสิ้นการแบ็คอัพครับ

แบ็คอัพฐานข้อมูล
แบ็คอัพฐานข้อมูล

เป็นอย่างไรบ้างครับ พอจะทำกันได้ไหมคงไม่ยากเกินไปนะครับ สำหรับบทความฉบับนี้ก็เอาไว้เพียงเท่านี้ แล้วรอบทความใหม่ในโอกาสหน้านะครับ สวัสดีครับ..

สอน WordPress หรือ WooCommerce
สอน WordPress หรือ WooCommerce
avatar

นายปิ๊ก


ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Themevilles.com เป็นอาจารย์สอน WordPress และ WooCommerce ในเว็บคอร์สออนไลน์ Skilllane และรับทำเว็บไซต์ ทำการตลาดออนไลน์ เช่น SEO, Facebook และ LINE

สอบถามผ่านทาง Line QR Code qr-code.png